Category Archives: สินค้า

ประสิทธิภาพและคุณภาพของตู้เย็น

%e0%b8%95%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99

 

ตู้เย็นทำความเย็นจากปั๊มความร้อนในการทำความเย็น โดยในแต่ละครั้งสารทำความเย็น เช่น R134a เข้าไปในเครื่องอัดความดันหรือที่เรียกกันว่าคอมเพรสเซอร์ (compressor) ที่มีความดันต่ำอุณหภูมิที่จุดเดือด พออัดจนมีความดันสูงไอก็จะร้อนความดันสูงเข้าไปในเครื่องควบแน่นแล้วออกมาเป็นของเหลวความดันสูงที่จุดเดือด หลังจากนั้นก็ไปที่แผงระบายความร้อนสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวอุณหภูมิเย็นลงแล้วไหลไปที่ใกล้กับส่วนที่ต้องการให้เย็น ความดันลดลงอย่างรวดเร็วกลายเป็นก๊าซอุณหภูมิต่ำ

คุณภาพของตู้เย็น

ตู้เย็นรุ่นแรกๆ จะมีน้ำแข็งเกาะตามช่องแช่แข็งเกิดจากความชื้นตอนเปิดประตูตู้เย็นไว้ โดยน้ำแข็งจะหนาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ใช้ต้องละลายน้ำแข็งเอง เช่น ถอดปลั๊กออกจนกว่าน้ำแข็งข้างจะละลายหมด  ต่อมา จึงพัฒนาเป็นแบบกดปุ่มละลายน้ำแข็ง และละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็งเพื่อประหยัดไฟ

ตู้เย็น รุ่นใหม่ส่วนมากมักมีคุณสมบัติต่อไปนี้

-เตือนเมื่อมีไฟตกหรือไฟดับ

-ไม่มีน้ำแข็งเกาะตามในช่องแช่แข็ง

-มีถาดทำน้ำแข็งอยู่ภายใน

-มีที่กดน้ำและน้ำแข็งจากหน้าตู้โดยไม่ต้องเปิดประตูตู้เย็น

-มีไฟคอยเตือนเมื่อต้องเปลี่ยนที่กรองน้ำ

ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ใช้พลังงานเป็นอย่างมาด (รองจากเครื่องปรับอากาศ) ในช่วง 20ปี ที่ผ่านมามีการแข่งขันของผู้ผลิตในการพัฒนาตู้เย็นประหยัดไฟมากขึ้น ตู้เย็นที่มีคุณภาพดีในปัจจุบันกินไฟประมาณ 1 ยูนิต (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ต่อวัน  สำหรับตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่อาจกินไฟถึง 4 ยูนิตต่อวัน

ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านบนจะกินไฟน้อยกว่าตู้เย็นแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง ส่วนแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านข้าง จะกินไฟมากที่สุด นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ผลิตตู้เย็นตามแบบของไอสไตน์ที่ประดิษฐ์ครั้งแรกในปี 1930 ตู้เย็นที่กินไฟมากที่สุดคือแบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติเพราะต้องมีตัวเป่าความชื้นออกจากใบของพัดลมในตู้เย็นและยังต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิเป็นพักๆ แบบที่รองลงมาได้แก่แบบไม่มีระบบละลายน้ำแข็งแต่ว่าน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นก็ทำให้กินไฟมากขึ้น ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็งและแบบที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็งกินไฟที่สุดแต่ผู้ใช้มักไม่ซื้อตู้เย็นประหยัดไฟเนื่องจากมีราคาแพง

ทำไมจึงควรสีของสแลนกรองแสง

images

สแลนกรองแสงเป็นวัสดุกรองแดด กันแดด หรือกันฝุ่นได้ ใช้งานง่าย แสลน ราคาไม่แพง คนทั่วไปจึงใช้สร้าง มุ้งปลูกผัก กันแดดเป็น ตาข่ายคลุมรถ บังแดดบ้าน และคลุมอาคารก่อสร้าง ซึ่งสแลนกรองแสงได้หลายระดับ สแลนกรองแสง 50%, สแลนกรองแสง 60%, สแลนกรองแสง70%, สแลนกรองแสง80% และมีสีต่างๆกันไป แต่ที่นิยมจะเป็น สแลนสีเขียว สแลนสีดำ สแลนสีฟ้า

สีของสแลนกรองแสง แบบสีดำ และ สีเขียว โดยทั้ง 2 สีนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของสีกับแสงและความรู้สึกทางสี ก็คือ สแลนแบบสีดำจะไม่ไปตัดทอนค่าความยาวคลื่นของแสงแดด ทำให้แสงแดดที่ลอดผ่านสแลนแบบสีดำนั้น จะเป็นแสงขาวเหมือนที่ตาเห็นโดยทั่วไป แต่สแลนสีอื่นจะสะท้อนตัดทอนค่าความยาวคลื่นของแสงแดดที่เป็นสีเดียวกันกับสีของ สแลนนั้นออกไป และพืชส่วนมากก็ต้องการแสงสีน้ำเงินและสีแดงเป็นหลัก ซึ่งรวมอยู่ในแสงสีขาวอยู่แล้ว ซึ่งถ้าแสงสีดังกล่าวถูกตัดทอนออกไป ก็จะส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ส่วนสแลนแบบสีเขียวนั้นจะเห็นคนนิยมเลือกใช้กันเยอะมากกว่าสีดำ นั่นก็เพราะว่า สแลนกรองแสงแบบสีดำสามารถเก็บความร้อนจากแสงแดดได้ดีกว่าแบบสีเขียวนั่นเอง ตามคุณสมบัติของสีดำนั้นจะส่งผลทำให้ในการใช้งานระยะยาวสแลนสีดำนั้นจะมีการเสื่อมคุณภาพได้รวดเร็วกว่าสแลนกรองแสงแบบสีเขียวนั่นเอง และนอกจากนี้ประโยชน์ของ สแลนกรองแสง หรือ ตาข่ายกรองแสง นั้นยังมีช่วยปกป้องใบของพืช จากแรงตกกระทบของเม็ดฝนที่ตกลงมา ซึ่งอาจจะทำให้ใบของพืชนั้นช้ำได้

 

18k gold คืออะไร ?

18k

18k gold ก็คือ ทอง18K เป็นทองคำแท้ๆ ที่มีเนื้อทองอยู่ที่ 75% มักนิยมใช้ในงานจิลเวลลี่เพราะว่ามีความแข็งแรงมากและมีความคงทนและก็ความเงางามมากกว่าทองแท่งหรือทองรูปพรรณ ส่วนคำว่า  K นั้นย่อมาจากคำว่า Karatgold หรือเรียกสั้นๆ ว่า k-gold แต่พอมาเรียกเป็นภาษาไทยก็เรียกว่าทองเคนั่นเองค่ะ

เมื่อพูดถึง 18k gold หลายคนมักจะถามกันตลอดว่า ทองเค คืออะไร? หรือมีบางคนเข้าใจว่า ทองเคไม่ใช่ทองแท้ เพื่อนๆ คงเคยได้ยินคำว่า ทองเค กันบ่อยแล้ว มักจะคิดว่ามันก็คือแหวนและสร้อยคอ 18k gold ตัว K นั้นย่อมาจาก karat นะคะ คนไทยมักจะเรียกติดปากทองเป็นแบบเปอร์เซนต์ ส่วนชาวต่างชาติจะเรียกว่า Karat เพราะคนไทยจะใช้มาตรฐานเทียบเคียงคือ ทองคำ 99.99% = ทองคำ 24K ก็สรุปว่า ทอง k ก็คือ ทองคำ นี่แหละค่าแต่จะเรียกหน่วยต่างกันออกไป

สังเกตุได้จากตามห้างร้านทองที่ผลิตเครื่องประดับมาขายจะนิยมทำมาอยู่ 3 แบบ คือ

  1. ทองคำ 99% ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบทองคำแท่งที่ซื้อไว้เกรงกำไรกัน หรือจะอยู่ในรูปแบบของยี่ห้อ ทองสวิส คือใช้ทองคำ 99.99% มาขึ้นตัวงานรูปพรรณ โดยไม่มีการเจือปนทองแดงลงไปแต่จะเป็นทองล้วนๆ
  2. ทองคำ 5 ทองคำแท่ง หรือ ทองรูปพรรณ ที่มักขายอยู่ตามร้านทองชื่อดัง ถ้าเพื่อนๆ สังเกตจะเห็นตราปั้มเป็นตัวเลขเล็กๆ อยู่ที่ไหนสักที่หนึ่งที่เราซื้อมา จะเป็นเลข “965” นั่นหมายถึง ทองคำแท้ 96.5%
  3. ทอง 18K หรือ 18k gold จะนิยมทำเป็นจิวเวลรี่ มีความแข็งมากกว่า เพราะว่า ทองแท้จะอ่อนมากโดนอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็จะบุบง่ายจึงไม่นิยมนำมาทำแหวน สร้อยคอ เพื่อป้องกันการบุบและขาด แต่ 18k gold จะคงทนกว่าและก็เนื้อจะมีความเงางามมากกว่าเมืองไทยจึงนิยมแต่ 18K ค่ะ

ball วาล์วมีข้อดีอย่างไร

วันนี้ nssteel.co.th มาแนะนำวาล์วอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีข้อดีมากมายเลยที่เดียว  ball วาล์ว ก็มีข้อดีตรงที่สามารถปิดสนิทหรือเปิดเต็มที่ได้อย่างรวดเร็ว รับความดันได้สูง ใช้งานได้ดีกับของไหลที่มีของแข็งปะปนอยู่ ในกรณีของ ball วาล์วที่ใช้กับของไหลที่อันตรายหรือที่ในระบบที่มีความดันสูงนั้น ตัวท่อเจาะทะลุที่ให้ของไหลไหลผ่านจะมีรูระบายความดันซึ่งเป็นรูเจาะทะลุเล็ก ๆ อยู่ในแนวตั้งฉากกับช่องทางให้ของไหลไหลผ่าน ในการปิดวาล์วนั้นจะต้องติดตั้งวาล์วให้รูระบายความดันนั้นหันออกไปทางด้าน downstream เพื่อเป็นการระบายความดันและ/หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ในช่องทางการไหลออกไป เพราะถ้าไม่มีรูดังกล่าว เวลาปิดวาล์วจะมีความดัน/สารเคมีตกค้างอยู่ในช่องทางการไหลดังกล่าว และถ้าถอดวาล์วออกมาเพื่อทำการซ๋อมบำรุงก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ทำการถอดชิ้นส่วนวาล์วได้

%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2

ball วาล์ว อาจใช้วัสดุพอลิเมอร์ (ตรงที่เป็นสีเขียวอ่อนในรูป) เป็นตัวปิดผนึกกันการรั่วซึมระหว่าง body ของตัววาล์วกับตัวลูกบอล ซึ่งวัสดุพอลิเมอร์มักจะทนอุณหภูมิสูงสู้โลหะไม่ได้ ดังนั้นในการใช้งาน ball วาล์ว จึงต้องคำนึงถึงอุณหภูมิการใช้งานด้วย ส่วน gate valve นั้นไม่มีวัสดุพอลิเมอร์ในการปิดผนึกกันการรั่วซึม จึงใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี

ประสบการณ์หนึ่งที่เคยเจอกับ ball วาล์ว ในแลปคือมีการถอดก้านหมุนออกมาเพื่อประกอบวาล์วเข้ากับแผงควบคุม แต่เวลาใส่ก้านหมุนวาล์วกลับคืนไม่ได้ตรวจดูว่าตำแหน่งก้านวาล์วที่ใส่เข้าไปกับตำแหน่งลูกบอลอยู่ตรงกันหรือไม่ ผลก็คือกลายเป็นว่าเมื่อก้านหมุนอยู่ในแนวเดียวกับแนวท่อวาล์วจะอยู่ในตำแหน่งปิด (ที่ถูกต้องคือต้องอยู่ในตำแหน่งเปิด) และเมื่อก้านหมุนอยู่ในแนวตั้งฉากกับตัวท่อวาล์วกลับอยู่ในตำแหน่งเปิด (ที่ถูกต้องคือต้องอยู่ในตำแหน่งปิด) และอีกครั้งหนึ่งคือใส่ก้านไม่เข้าตำแหน่งดี (ขนาดเขาทำร่องบากให้ใส่ได้พอดีไว้แล้ว) ก็ใช้วิธีฝืนขันอัดเข้าไป ตอนที่ก้านวาล์วอยู่ในตำแหน่งปิดวาล์วก็เลยยังมีแก๊สรั่วไปออกมา ทำให้ผลการทดลองที่ได้มีปัญหาอยู่ตลอด

 

 

เสาเข็มเจาะ มีหน้าที่อะไรบ้าง

คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการก่อสร้าง พอเอ่ยถึงเสาเข็มก็คงจะพอเข้าใจได้อยู่ แต่พอได้ยินคำว่าเสาเข็มเจาะ อาจทำหน้าฉงน…ว่ามันคืออะไร มีหน้าที่อะไร  คอนกรีตเอ็น9.com  จะมาอธิบายหน้าที่หลักๆของเสาเข็มเจาะ   จริงๆ แล้วเสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนเสาเข็มที่พบกันโดยทั่วไปแบบที่ใช้ปั้นจั่นตอก แต่ลักษณะการทำงานจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เสาเข็มเจาะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเจาะ จึงไม่ใช้การตอกเข็มลงไปในดินโดยตรง แต่จะใช้การตอกปลอกเหล็กที่เป็นแบบหล่อคอนกรีตลงไปในดินแล้วใส่เหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุมแทน ลดทอนขั้นตอนการตอกไป

13adb4_04228889f0ed42a68cb15aec7cad64c5

เสาเข็มเจาะจึงเป็นเสาเข็มที่ได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง เพราะมีข้อดี ที่สามารถทำงานในที่แคบได้ ไม่ต้องตอกให้วุ่นวายไปรบกวนเพื่อนบ้าน และที่ดีเยี่ยมคือไม่มีเสียงตอกให้กระทบกระเทือนบ้านหลังอื่นๆ  สามารถใช้กับงานต่อเติมได้ เหมาะสําหรับบริเวณที่มีชั้นดินอ่อนแต่จําเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อรองรับนํ้าหนักของโครงสร้างเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรง หรือใช้กับบริเวณพื้นที่ที่ไม่สะดวกในการใช้เสาเข็มตอก นอกจากนี้เสาเข็มเจาะสามารถปรับขนาดให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับนํ้าหนักอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีระดับความสูงมากๆ โดยไม่ให้ดินเคลื่อนตัวไปดันสิ่งก่อสร้างอื่นๆ และการใช้เสาเข็มเจาะยังสามารถลดขนาดของฐานรากให้เล็กกว่ากรณีใช้เสาเข็มตอกได้อีกด้วย ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารในแต่ละแบบ

แต่ถ้าจะทำการก่อสร้างในที่ดินเปล่าโล่งแจ้งห่างจากชุมชนมากมายๆ ไม่มีตึกอยู่ใกล้ๆ เลย พื้นดินไม่นุ่มนิ่ม พื้นดินไม่มีปัญหา ไม่พบตาน้ำอยู่ใต้พื้นดิน ไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครมาบ่นว่ามีเสียงรบกวน ไม่ต้องกลัวอาคารข้างๆ แตกร้าวในรัศมีประมาณ 50 เมตร แนะนำว่าเสาเข็มตอกเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพราะประหยัดเงินได้มากกว่าการเลือกใช้เสาเข็มเจาะ

ทั้งนี้เสาเข็มเจาะนั้นมีหน้าที่หลักคือสามารถถ่ายเทแรงที่โครงสร้างอาคารลงในชั้นดินที่ความลึกต่างๆ ไปถึงชั้นดินที่มีความแข็งแรง และที่พิเศษคือสามารถออกแบบให้ต่อเนื่องกันเป็นกำแพงกันดินสำหรับงานขุดบ่อเพื่อรื้อย้ายอุปสรรคที่อยู่ใต้ดินหรือเป็นกำแพงกันน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

รอบรู้การติดตั้งกันสาด

การติดตั้งกันสาดหรือแผงกันแดด เป็นการป้องกันความร้อนและแสงแดด ไม่ให้ส่องผ่านหน้าต่างเข้ามา เป็นความร้อนสะสมอยู่ในบ้าน กันสาดหรือแผงกันแดดที่ดีนั้น ต้องกันแสงแดด ไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านให้มากที่สุด

1-1-home

บ้านที่ปล่อยให้แดดจัดๆส่องเข้าบ้านตรงๆเต็มๆ ความร้อนจะสะสมในบ้าน ทำให้พัดลมและเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก การใช้ไฟฟ้าก็มากขึ้นด้วย ค่าใช้จ่ายก็จะตามมา กันสาดจึงเป็นเครื่องมือที่ดีช่วยบังแดดไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านได้ ควรติดกันสาดทางทิศตะวันตกและทิศใต้เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ เพื่อให้ช่วยบังแดดให้มากที่สุด

  การติดตั้งกันสาดหรือแผงกันแดดที่ดีนั้นต้องเป็นกันสาดที่กันแสงแดดไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านได้เกือบทั้งหมด แต่ก็มีกัดสาดอีกรูปแบบหนึ่งที่แสงสามารถส่องผ่านเข้ามาได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลว่าจะชอบแบบไม่ให้มีแสงลอดหรือมีแสงลอดมาได้ แต่ข้อสำคัญก็อย่าติดมากถึงกับทำให้ภายในบ้านมืดจนต้องเปิดดวงไฟแสงสว่างในเวลากลางวัน เพราะแทนที่จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย กลับจะกลายเป็นเพิ่มค่าใช้จ่ายให้คุณอีกก็เป็นได้

การติดตั้งกันสาดหรือแผงกันแดดประเภทที่เอามาติดเข้าที่ตัวบ้านในภายหลัง โดยมากมักจะต้องเป็นกันสาดหรือแผงกันแดดที่มีน้ำหนักเบา ๆ ยื่นยาวอกกมาได้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมโครงสร้างของบ้านไว้รองรับ เช่น พวกกันสาดอลูมิเนียม ไฟเบอร์กลาส ไปจนถึงระแนงไม้ และผ้าใบ พวกนี้ต้องมีการบำรุงรักษาและเปลี่ยนวัสดุบ้าง จะให้ดีควรต้องปรึกษาผู้รู้ก่อนติดตั้ง เพื่อป้องกันปัญหากับโครงสร้างของตัวบ้าน

สาระน่ารู้เกี่ยวกับหลอด LED

 

วันนี้ www.lodled.com ได้นำสาระดีๆเกี่ยวกับหลอดLED มาฝากทุกคนค่ะ  ซึ่งจะเป็นประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับหลอดLED

led_bulb_e27

หลอดLED นั้นมีมานานแล้ว เริ่มปรากฎในแผงวงจรครั้งแรกเมื่อปี 1962 ซึ่งโดยช่วงแรกๆนั้นหลอด LED ให้ความเข้มแสงไม่มากนัก และมีใช้ในเฉพาะ ความถี่ในช่วงแสง infra-red ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ (ซึ่งเรายังคงเห็นรูปแบบการใช้งานในช่วงแสง infra-red นี้ตามอุปกรณ์ประเภทรีโมทคอนโทรลในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนจนปัจจุบัน)

ต่อมาหลอด LED ถูกพัฒนาให้สามารถเปล่งแสงที่มองเห็นได้ โดยแสงสีแดง ถูกคิดค้นขึ้นได้ก่อน แต่ก็ยังมีความเข้มแสงที่ต่ำอยู่ หลังจากนั้น หลอดLED ก็ถูกพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งสามารถให้แสงที่ครอบคลุมย่านความถี่ตั้งแต่ infrared แสงที่มองห็นไปจนถึงย่าน ultra violet หรือ UV

ต่อจากนั้น หลอดLED ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในอุปกรณ์ไฟแสดงตามแผงควบคุมต่างๆ, ในไฟแสดงตัวเลข seven segment และนาฬิกาดิจิตอล

ต่อมา หลอดLED ก็ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพด้านความเข้มแสงมากขึ้น จึงทำให้เกิดการนำเอา หลอดLED มาใช้งานในการแสดงสัญญาณต่างๆ เช่น ไฟสัญญาณสำหรับการบิน ไฟสัญญาณจราจร และเนื่องด้วย หลอดLED มีข้อดีในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านประหยัดพลังงาน ด้านการใช้งานได้นานขึ้น การบำรุงรักษาที่ต่ำ ด้านความทนทานของตัวหลอดเอง และขนาดก็เล็กมากเมื่อเทียบกับหลอดไส้อย่างเดิม ทั้งยังปิดเปิดง่ายขึ้นแล้ว นักวิจัยและบริษัทต่างๆจึงมุ่งเน้นพัฒนาประสิทธิภาพด้านความเข้มแสงหรือความสว่างให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อหวังที่จะนำเอาหลอด LED มาใช้เป็นไฟฟ้าแสงสว่างในชีวิตประจำวันเพื่อทดแทนหลอดไฟแบบที่มีใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ก็ติดปัญหาเรื่องการทำให้ หลอดLED มีแสงสีขาว เหมือนหลอดไฟทั่วไปไม่ได้

ผ่านมาเกือบ 30 ปี จนกระทั่ง ในปี 1990 นักวิทยาศาตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คน ได้ร่วมกันพัฒนาจนประสบความสำเร็จ ซึ่งภายหลังทั้ง 3 คนนี้จึงได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2014 ในฐานะเป็นผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติวงการทั้งโลก ด้านไฟฟ้าแสงสว่างและการใช้พลังงาน ในศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว

แล้วจำเป็นมั้ยต้องใส่ฉนวนที่หลังคาเสมอ?

อาจารย์อรรจน์ ให้คำแนะนำว่า “ช่องทางที่ความร้อนจากแสงแดดถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้มากที่สุดในเวลากลางคืน คือ พื้นที่หลังคา  การที่จะลดความร้อนจากหลังคาได้ก็คือ การใช้ฉนวนป้องกัน  ดังนั้น ใครที่ต้องการให้ความร้อนเข้าบ้านให้น้อยที่สุด แนะนำว่า ‘ควร’ ติดตั้งฉนวนกันความร้อนเป็นอย่างยิ่ง  ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา จะทำให้บ้านเราอยู่สบายขึ้น พึ่งพาเครื่องปรับอากาศน้อยลง หรือช่วยลดค่าไฟมากขึ้นเพราะเครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง

images

ฉนวนกันความร้อนไม่เพียงแต่จะช่วยกั้นหรือป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงแดดไม่ให้เข้าสู่บ้านทางหลังคาแล้ว  ยังสามารถติดตั้งกับผนังได้ด้วย  ทั้งในกรณีบ้านกำลังก่อสร้าง และบ้านที่สร้างแล้ว

การลดความร้อนจากพื้นที่ดังกล่าวด้วยการใช้ฉนวนซึ่งมีรูปแบบและการติดตั้งที่เหมาะสมกับพื้นที่ สอดคล้องกับการใช้งานจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลดการใช้พลังงานในบ้าน เช่น ถ้าเป็นการติดตั้งที่หลังคา ฉนวนให้เลือกที่ความหนาไม่น้อยกว่า 6นิ้ว  ส่วนผนัง หากจะติดฉนวนเพิ่ม ก็ให้ดูทิศทางว่าผนังด้านนั้นโดนแดดมากน้อยแค่ไหน หรือติดเฉพาะด้านที่โดนแดดบ่ายก็พอ ไม่จำเป็นต้องติดผนังทุกด้านให้สิ้นเปลือง ที่สำคัญควรเลือฉนวนที่วัสดุหุ้มป้องกันความขื้นได้ด้วย ฉนวนจะได้อยู่ได้นานๆ